วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ขอความอนุเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับพระเจ้าใหญ่





พระเจ้าใหญ่วัดเหนือตั้งอยู่ที่หมู่ ๒ ตำบลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์
มีวัดที่เก่าแก่ และสภาพเดิมยังคงไว้มากกว่าร้อยละ 80 ภายในอุโบสถ มีพระประธาน หน้าตัก 2 เมตร สูง 1.5 เมตร ทำด้วยหินปูนปนทรายก่อโบราณ อายุประมาณ มากกว่า 200 ปี อยู่ภายในอุโบสถเก่าขนาด 15 * 5 เมตร ด้านข้างมีหน้าต่าง 4 บาน ขนาด 0.75 * 1 เมตร ด้านหน้า มีประตูขนาด 1* 2 เมตร แบบบานพับคู่ 2 บาน 2 ช่อง หันไปยังทิศตะวันออก หลังคาทำด้วยแผ่นไม้ ทรงจั่ว 3 ชั้น และขอบไม้ที่ถุกเปลี่ยนมาเป็นสังกะสี เชิงชายเป็นไม้แกะลาย ภายในประกอบด้วยเสาฐานจำนวน 12 ต้น ยังไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง ทราบแต่เพียงชื่อว่า "พระเจ้าใหญ่วัดเหนือ" จากคุณยายปั่น ยอดขาว อายุประมาณ 94 ปี ยังคงแข็งแรง ได้บอกแต่เพียงว่าเกิดมาก็พบวัดแห่งนี้ มาพร้อมกับพระเจ้าใหญ่ ซึ่ง ชื่อใหญ่ มาจากความองค์ที่มีขนาดใหญ่ คนแต่เก่าก่อนมักจะนิยมมาบนบาน เพื่อขอพรต่าง ๆ ตามความเชื่อ และเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง เป็นพระประธานที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ถ้าสิ่งที่ขอนั้นจะเป็นผลเมื่อ การแก้บนในสิ่งที่ขอตรงกัน เช่นว่า ชาวนาขอฟ้าฝนที่พอดี ไม่แล้ง ไม่ท่วม การแก้บนที่เป็นผล คือ การเป็นชาวนาที่ดี เอาใจใส่ดูแลนาข้าวเป็นอย่างดี ก็ถือว่าเป็นการแก้บนกับพระเจ้าใหญ่ หากเป็นทหาร ก็บนบานเพื่อขอพรพ้นภัยและชนะภัยตรายต่าง ๆ การแก้บน คือ การเป็นทหารที่ดี บ้านไหนต้องการบุตรธิดา มาบนบาน เมื่อประสบผล การแก้บนคือ การดูแลบุตรธิดาและสอนเขาเป็นคนดี นี่คือ สิ่งที่บนบานของพระเจ้าใหญ่วัดเหนือ ที่สืบมา หากคำแก้สวนทางหรือกลับทางเป็นอย่างอื่น พรนั้นมักไม่ประสบผล
ดังนั้นสิ่งที่ขอประกอบกับกุศโลบายสัญญาต่อความมุ่งมั่นแล้ว สิ่งต่าง ๆ จะเป็นผลที่ยั่งยืนตลอดอายุคำบนบานสัญญา
สิ่งที่ผู้เขียนต้องการทราบคือ
๑.พระเจ้าใหญ่สร้างขึ้นในยุคสมัยใด
๒.ใครเป็นผู้สร้าง
๓.งบประมาณที่ใช้ จากส่วนใด
๔.นอกจากการสร้างเพื่อประกอบศาสนพิธีแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์สร้างเพื่อปัจจัยเหตุอื่นหรือไม่ เช่น ก็อยู่ในยามศึกสงคราม(สังเกตจากพระพักตร) การสร้างก็เพื่อเป็นการผนึกความสามัคคี ถ้าสร้างในยุคเจริญพ้นผ่านสงคราม อยู่ในช่วงความสุข ก็สร้างเพื่อบ่งชี้ถึงความเจริญ(พระพักตรแ้ย้มพระสรวล)
๕.ปัจัยอื่น ๆ
ขอเชิญชวนทุกท่านที่มีจิตศัทธาต่าง ๆ พึงยึดหลักการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สิ่งใดที่สร้างความปกติสุขนั้น ก็จะเกิดจากสติปัญญาที่สอดรับกับปรัชญาความสงบสุข
ความสงบเสมือนเป็นหลัก หรือ จุดเริ่มต้นของการเปรียบเปรยความสุข การขอให้ได้มาเพื่อความสุข ก็จะมาจากความเพียรแห่งสุขตามหลักพระพุทธองค์

2 ความคิดเห็น:

  1. ร่องรอยที่ปรากฎบนผนังอุโบสถ เป็นหลุมร่อง
    ในระดับเอว เกิดจากธรรมเนียมปฏิบัติ ของผู้มาเวียนเทียน ครั้งแล้วครั้งเล่า จะมีการท่องบทสวดมนต์ พร้อมกับใช้มือขวาแตะไปตามผนังอุโบสถโดยไม่หลุดหรือขาดออกก่อนครบ ๓ รอบ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งแสดงว่าผู้เวียนทียนก็จะเดินในแนว หรือ ทิศ ตามเข็มนาฬิกา (clockwise)ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางแห่งการหมุนในเชิงกุศล ว่า ชีวิตได้ปล่อยให้เป็นไปตามตามกาลเวลา การมีสติ ระลึกได้ และสัมปชัญญะ รู้ตน ว่าจะทำอย่างไร จะทำปัจจุบันครองตนได้อย่างรอบคอบ หรือแสดงตนให้ทราบว่ายังดำรงอยู่ได้ ตามสิ่งที่เคารพนับถือที่ยังอยู่ทางขวามือ
    วัดจะมีการบูรณะทุก ๆ ปี และยังคงใช้ ปูนทรายก่อแบบโบราณ ที่ยังคงอนุรักษ์แบบและสีให้คงสภาพเดิมมากที่สุด

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ28 สิงหาคม 2554 เวลา 07:13

    ประวัติการสร้างโบสถ์หลังนี้มีในหนังสือ สมโภชน์อุโบสถวัดเหนือปี 2553 นะคะ ลองไปหาอ่านดู ชื่นชม ยอดเยี่ยม

    ตอบลบ